ปัญหาน่ารู้เกี่ยวกับห้องน้ำ



หลายๆบ้านมีปัญหาในห้องน้ำกันใช่ไหมคะ วันนี้เรามีวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านั้นค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลยค่ะ

ปัญหาในห้องน้ำสามารถแยกกล่าวถึงได้ 3 ประเด็น คือ
1. ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของห้องน้ำ
2. ปัญหาเกี่ยวกับสุขภัณฑ์และอุปกรณ์
3. ปัญหาเกี่ยวกับงานระบบของห้องน้ำ
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงปัญหาที่พบบ่อยหรือน่าสนใจตามประเด็นทั้งสาม ดังนี้
ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของห้องน้ำ มักจะพบกับสภาพชำรุดหรือแตกร้าวของผนังและพื้น กรณีนี้เป็นได้กับส่วนอื่น ๆ ของตัวอาคาร เพราะเป็นเรื่องราวของโครงสร้าง คือ ฐานราก เสา และคาน
การแก้ไข ต้องดูที่สาเหตุว่ามาจากส่วนใด แค่ถ้าเป็นพื้นผนังที่มีรอยร้าวไม่มากนัก ก็ใช้ผง water plug ผสมปูนซีเมนต์ยาแนวได้ ปัญหาเรื่องพื้นในห้องน้ำ มักจะมีการรั่วซึม เป็นเพราะพื้นหมดอายุหรือมีการทรุดตัวบ้าง หากเป็นมากต้องทุบออกแล้วเทพื้นใหม่ ถ้าเป็นพื้นชั้นบนถือเป็นเรื่องใหญ่ เพื่อพื้นชั้นบนมักจะหล่อติดต่ออยู่กับคานของห้อง หากพื้นร้าวแสดงว่าทำพื้นผิดวิธี ต้องรื้อทั้งหมดแล้วทำใหม่ หรืออาจใช้โครงเหล็กยึดที่ท้องคานรับตัวพื้นเอาไว้ แล้วแก้ไขรอยร้าวของพื้น

ปัญหาเกี่ยวกับสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ ส่วนใหญ่เป็นที่โถส้วม โถปัสสาวะ มีการอุดตันต้องแก้ไขที่สะดือและท่อระบายน้ำ ถ้าอุดตันให้ใช้ลวดแข็ง ๆ ทะลวงเข้าไปในท่อ เพื่อให้สิ่งอุตันหลุดออกมา หรือใช้โซดาไฟราดเพื่อสลายสิ่งอุดตันนั้นให้หลุดออก โถส้วมราดไม่ลง เพราะมีอากาศค้างอยู่ในท่อระบายของเสีย ต้องทำช่องระบายอากาศเพิ่มเติม หามีแล้วให้สำรวจดูว่าตันหรือไม่
ปัญหาการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานก็มีผลทำให้โถสุขภัณฑ์มีการขยับตัวทำให้กลิ่นออกมาได้ ดังนั้นต้องหมั่นตรวจตรารอยเชื่อมต่อทั้งหลายระหว่างสุขภัณฑ์กับพื้น หรือกับท่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หากพบก็ควรรีบซ่อมแซมด้วยการใช้ปูนซีเมนต์หรือปูนขาวอุดตามรอยต่อ แต่ถ้ามีรอยแตกมากก็ให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสมกับคอนกรีตอุดตามรอยต่อนั้น ๆ



ลงประกาศฟรี คลิกเลย : www.thaihomeonline.com



หากเป็นห้องน้ำแบบมาตรฐานมักจะก่อเป็นบ่อน้ำสำหรับตกอาบบุด้วยกระเบื้องเคลือบ หลายครั้งน้ำจะซึมผ่านตามแนวอิฐและแผ่นกระเบื้องเคลือบออกมา วิธีง่าย ๆ คือหารอยที่น้ำซึมออกมาแล้วใช้ปูนซีเมนต์ขาวอัดยาแนวในขณะที่น้ำต่ำจากแนวรั่วซึมนั้น นอกจากนี้ น้ำและความชื้นจะทำให้ผนังห้องอีกด้านหนึ่งสีบวม หรือกระดาษปิดผนังหลุดล่อน โดยเฉพาะผนังด้านที่ก่ออิฐประกอบเป็นบ่อน้ำดังกล่าว ดังนั้น ก่อนที่จะบุกระเบื้องเคลือบควรใช้วัสดุกันซึมทาก่อนเพื่อป้องกันการซึมของน้ำ
หากเป็นกรณีที่ใช้อ่างอาบน้ำในห้องน้ำชั้นบน ก่อนวางอ่างให้ทำพื้นบริเวณที่จะวางด้วยการขัดมัน หรือใช้น้ำยากันซึม เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมที่ใต้อ่างอาบน้ำลงมายังฝ้าเพดานด้านล่าง
พื้นหลุดล่อน ส่วนใหญ่จะเป็นกับพื้นกระเบื้องหรือโมเสก หรือพื้นหินในบางกรณี ส่วนใหญ่จะเกิดจากมีน้ำซึมลงเบื้องล่างทำให้ปูนที่ยึดกระเบื้องกับพื้นคอนกรีตของห้องน้ำเสื่อมสภาพ การแก้ไขต้องเลาะกระเบื้องเก่าส่วนที่หลุดและจะหลุดออกแล้วปูใหม่ตามกรรมวิธี ปัจจุบันมีกาวติดกระเบื้องน่าจะให้ผลดีกว่าการปูแบบเดิม ๆ
อุปกรณ์ต่าง ๆ หมดอายุหรือใช้งานไม่ดีเท่าทีปรากฏ เราจะเห็นว่าเป็นการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาถูกไม่ได้มาตรฐาน เช่น ไม่มียางกันซึม ทำให้น้ำซึมจากหัวฉีดจากตัวก๊อก ก้านชัดโครกค้างหรือทำงานไม่ดีก็เป็นด้วยสาเหตุเดียวกัน ควรแก้ไขด้วยการใช้อุปกรณ์มาตรฐานชั้นดีมาแทน เวลาที่ไปซื้อก็ควรนำเอาอุปกรณ์เก่าไปเทียบรุ่นด้วยเพื่อป้องกันความผิดพลาด
ในการใช้ก๊อกน้ำหรือวาล์วควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ ทางที่ดีควรต่อวาล์วย่อย (Nipple) สำหรับปิด-เปิดน้ำในส่วนของก๊อกอ่างล้างหน้า ชักโครก สายฉีดชำระไว้โดยเฉพาะเผื่อเวลาที่มีการรั่วซึมหรือซ่อมแซมจะได้ปิดน้ำเฉพาะจุดที่ต้องการซ่อมแซมเท่านั้น

ปัญหาเกี่ยวกับระบบท่อ โดยทั่วไปจะเป็นที่ระบบระบายน้ำทิ้ง เช่น ท่อตัน ท่อระบายน้ำไม่ทัน การใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว จะช่วยให้ระบายน้ำดีขึ้น ทำนองเดียวกัน ควรใช้ตะแกรงฝาท่อระบานน้ำแบบดักผงได้ป้องกันการอุดตัน ท่อหลุดก็พบได้เสมอ เนื่องจากเป็นท่อที่ใช้งานมานาน กาวเชื่อมท่อหมดอายุ ต้องทากาวใหม่ ทางที่ดีควรใช้กาวอย่างดี (เป็นกาวหลอด) สำหรับทาท่อน้ำ(พีวีซี) โดยเฉพาะตั้งแต่แรกติดตั้งหรือการซ่อมภายหลัง









ขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยโฮมมาสเตอร์
ดูบทความดีๆได้ที่ : www.thaihomeonline.com หรือ LINE@ : @thaihomeonline  ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้ทัน "อารมณ์" ของการซื้อบ้าน ที่มักทำให้คุณตัดสินใจพลาดในตลาดอสังหา

ฮวงจุ้ยสวนสวยรับฤดูหนาว

ส่องคอนโด "คิมเบอร์ลี่" กับสไตล์การตกแต่งที่หรูหรา สมเป็นซุปตาร์!