เรื่องต้องรู้ก่อนซื้อบ้าน
บ้านถือเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง บางคนต้องใช้เวลาสะสมเงินทองมาเกือบตลอดชีวิตจึงจะสามารถซื้อบ้านได้สักหลัง ดังนั้นก่อนที่จะซื้อบ้าน จะต้องมีการหาข้อมูล และตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจนำไปสู่การเสียเงินเสียเวลาในภายหลัง และเพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ที่กำลังเริ่มต้นมองหาบ้านเป็นของตนเอง จึงขอฝากข้อมูลขั้นตอนการวางมัดจำ และทำสัญญาซื้อขาย
ก่อนทำสัญญาจะซื้อ หรือสัญญาวางมัดจำนั้น หากเป็นการซื้อบ้านพร้อมที่ดินผู้ที่จะซื้อควรตรวจสอบสำเนาโฉนดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงตรวจสอบทะเบียนบ้านเพื่อยืนยันสิทธิของเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของที่ดินเดิมเสียก่อน เรื่องการวางเงินมัดจำ ต้องขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้จะซื้อ และผู้จะขาย โดยเงื่อนไขต่าง ๆ จะต้องมีระบุไว้ในเอกสารสัญญาอย่างชัดเจน
และในกรณีที่ผู้จะซื้อต้องการกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ผู้จะซื้อต้องถ่ายสำเนาโฉนดเพื่อยื่นให้ทางสถาบันการเงินตรวจสอบว่ามีโอกาสผ่านการพิจารณาในการขอกู้มากน้อยแค่ไหน หากสถาบันการเงินดังกล่าวพิจารณาแล้วว่ามีความเป็นไปได้สูง จึงค่อยดำเนินการติดต่อซื้อขาย ไม่เช่นนั้นผู้จะซื้ออาจจะถูกยึดเงินมัดจำในขั้นตอนของการทำสัญญา หากการกู้เงินไม่ผ่านการพิจารณา
หลังจากนั้นเป็นตอนการทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือหนังสือสัญญาวางมัดจำ สาเหตุที่ไม่ควรทำหนังสือสัญญาซื้อขายในทันที เนื่องจากผู้ซื้อควรเว้นระยะเวลาสักระยะหนึ่ง ก่อนทำสัญญาซื้อขาย เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายที่เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของโครงการเดิมมีพันธะผูกพันอยู่เช่น ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีผลกระทบมาจนถึงตัวผู้จะซื้อในภายหลัง
ทั้งนี้ ในกรณีการซื้อบ้าน หลังจากที่ผู้ซื้อตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนัดเจ้าของบ้านทำหนังสือสัญญาซื้อขายได้อีกครั้ง โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียน (ทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน) โดยหลังจากเซ็นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ผู้จะซื้ออาจทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน เพื่อขอตรวจสอบความถูกต้องของโฉนดที่ดินอีกครั้ง
หลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จสิ้นแล้ว ผู้จะซื้อต้องนำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายไปดำเนินการยื่นเรื่องเพื่อขอสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินอีกครั้ง โดยทางสถาบันการเงินเข้ามาทำการประเมินราคา
และหลังจากที่สถาบันการเงินได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว ผู้จะซื้อจะต้องนัดเจ้าหน้าที่จากสถาบันการเงิน และเจ้าของบ้านมาทำการจดทะเบียนโอน และจดทะเบียนจำนองที่ดินที่กรมที่ดิน โดยผู้จะซื้อควรตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทุกฉบับที่เกี่ยวกับการซื้อการจำนอง ก่อนเซ็นรับรองเอกสาร
ก่อนทำสัญญาจะซื้อ หรือสัญญาวางมัดจำนั้น หากเป็นการซื้อบ้านพร้อมที่ดินผู้ที่จะซื้อควรตรวจสอบสำเนาโฉนดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงตรวจสอบทะเบียนบ้านเพื่อยืนยันสิทธิของเจ้าของบ้าน หรือเจ้าของที่ดินเดิมเสียก่อน เรื่องการวางเงินมัดจำ ต้องขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้จะซื้อ และผู้จะขาย โดยเงื่อนไขต่าง ๆ จะต้องมีระบุไว้ในเอกสารสัญญาอย่างชัดเจน
และในกรณีที่ผู้จะซื้อต้องการกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ผู้จะซื้อต้องถ่ายสำเนาโฉนดเพื่อยื่นให้ทางสถาบันการเงินตรวจสอบว่ามีโอกาสผ่านการพิจารณาในการขอกู้มากน้อยแค่ไหน หากสถาบันการเงินดังกล่าวพิจารณาแล้วว่ามีความเป็นไปได้สูง จึงค่อยดำเนินการติดต่อซื้อขาย ไม่เช่นนั้นผู้จะซื้ออาจจะถูกยึดเงินมัดจำในขั้นตอนของการทำสัญญา หากการกู้เงินไม่ผ่านการพิจารณา
หลังจากนั้นเป็นตอนการทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือหนังสือสัญญาวางมัดจำ สาเหตุที่ไม่ควรทำหนังสือสัญญาซื้อขายในทันที เนื่องจากผู้ซื้อควรเว้นระยะเวลาสักระยะหนึ่ง ก่อนทำสัญญาซื้อขาย เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายที่เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของโครงการเดิมมีพันธะผูกพันอยู่เช่น ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีผลกระทบมาจนถึงตัวผู้จะซื้อในภายหลัง
ทั้งนี้ ในกรณีการซื้อบ้าน หลังจากที่ผู้ซื้อตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนัดเจ้าของบ้านทำหนังสือสัญญาซื้อขายได้อีกครั้ง โดยกฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียน (ทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน) โดยหลังจากเซ็นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายแล้ว ผู้จะซื้ออาจทำการรังวัดสอบเขตที่ดิน เพื่อขอตรวจสอบความถูกต้องของโฉนดที่ดินอีกครั้ง
หลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จสิ้นแล้ว ผู้จะซื้อต้องนำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายไปดำเนินการยื่นเรื่องเพื่อขอสินเชื่อกับทางสถาบันการเงินอีกครั้ง โดยทางสถาบันการเงินเข้ามาทำการประเมินราคา
และหลังจากที่สถาบันการเงินได้อนุมัติสินเชื่อแล้ว ผู้จะซื้อจะต้องนัดเจ้าหน้าที่จากสถาบันการเงิน และเจ้าของบ้านมาทำการจดทะเบียนโอน และจดทะเบียนจำนองที่ดินที่กรมที่ดิน โดยผู้จะซื้อควรตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทุกฉบับที่เกี่ยวกับการซื้อการจำนอง ก่อนเซ็นรับรองเอกสาร
ขอบคุณข้อมูลจาก : cmc.co.th
ดูบทความดีๆได้ที่ : www.thaihomeonline.com หรือ LINE@ : @thaihomeonline ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : Thaihomeonline.com หรือ Line@ : thaihomeonline - ครบเครื่องเรื่องบ้าน คอนโด การลงทุน คลิกเลย : https://www.thaihomeonline.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น